การพัก กักโรคปลา ?

มือใหม่ควรอ่าน การพักกักโรคปลา
ปลาคาร์ฟเมื่อทำการย้ายบ่อ ต้องทำการกักโรคก่อนปล่อยรวมกับปลาเก่าในบ่อเรา เพื่อลดความเสี่ยงปลาป่วยจากการแลกเชื้อกัน
ด้วยการนำปลาที่ได้มาใหม่ พักไว้ในบ่อพัก จะบ่อยาง หรือบ่ออะไรก็ได้ แต่ควรมีขนาดที่ใหญ่พอสมควร เพื่อไม่ให้ปลาเครียด
มีหรือไม่มีระบบกรองก็ได้ เพราะไม่ควรให้อาหารปลาในระหว่างการกักโรค เพื่อรักษาคุณภาพน้ำให้ดีที่สุด



ใส่เกลือในน้ำ 3-5 กก. ต่อน้ำ 1ตัน เพื่อลดความเครียดและควบคุมเชื้อแบททีเรีย พักไว้อย่างน้อย 1 อาทิตย์ สามารถใส่ยากำจัดปรสิตได้
3-4 วันผ่านไปเปลี่ยนถ่ายน้ำ นำน้ำในบ่อเลี้ยงมาใส่ นำปลาในบ่อเลี้ยงมากักร่วมซัก 1-2 ตัว เพื่อทดสอบการแลกเชื้อ
2-3 วันผ่านไป หากปลาร่าเริงแจ่มใส ว่ายน้ำปกติ จึงนำปลาทั้งหมดลงเลี้ยงในบ่อตามปกติ
แต่ถ้าปลาซึมนอนนิ่ง ตัวแดง ตัวเป็นฝ้า อันนี้ต้องรักษากันตามอาการต่อไป

ระยะเวลาการกักโรค ขึ้นกับความต้องการของเราครับ แต่ไม่ควรต่ำกว่า 1 อาทิตย์ บางท่านกักเป็นเดือนก็มี
การกักโรคเป็นการลดความเสี่ยงต่อการแลกเชื้อ ไม่ได้หมายความว่ากักโรคแล้วปลาจะไม่ป่วย เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ปลาป่วยได้





(สูตรการกักโรคมีหลากหลาย เลือกใช้ตามความต้องการของแต่ละท่านครับ)

นำปลาเข้าบ้านใหม่ ทำไมต้องกักโรคก่อนปล่อยลงบ่อ
พี่ๆน้องๆมือใหม่ที่สนใจเลี้ยงปลาคาร์ฟหน้าใหม่ๆจะมีมาเรื่อยๆซึ่งจะยังไม่เข้าใจตรงจุดนี้ ความรู้สึกพอมีบ่อมีน้ำ
ก็ยากรีบหาปลามาลงบ่อ แล้วส่วนมากจะเจอกับเหตุการปลาป่วย ปลาตายยกบ่อจากที่รู้สึกอยากเลี้ยงปลาเป็นกลัวเอาปลาใหม่เข้าบ้านไปเลยก็มี



ข้อห้ามสำหรับการเลี้ยงปลาคาร์ฟ เมื่อมีการย้ายที่อยู่ของปลา จะต้องทำการพักปลาที่มีการเคลื่อนย้าย ก่อนปล่อยลงบ่อเลี้ยงรวม
กับปลาเก่าในบ่อทุกกรณี ซื้อปลาใหม่ ย้ายบ้าน ย้ายบ่อ ส่งปลาไปประกวด คิดง่ายๆเหมือนเราเดินทางไปเที่ยวต่างท้องที่
เราจะเพลียจะเหนื่อย! ถ้าไปถึงที่หมายเราออกไปลุยงานเจอคนเยอะๆอากาศใหม่ๆ สถานที่ใหม่ๆ อาจจะทำให้เราเป็นหวัด
เป็นไข้ได้ น้องปลาก็เช่นกัน เมื่อได้ปลามาใหม่ให้เราทำการพักปลาก่อนในบ่อยาง บ่อไฟเบอร์หรือบ่ออื่นๆ
แล้วแต่ความสะดวกที่พักปลาอย่าให้เล็กมากเพราะปลาจะเครียด ควรมีที่ปิดกั้นบ่อกันปลากระโดด
การกักโรคปลาใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 อาทิตย์ บางท่านกักเป็นเดือนก็มีครับ


การกักโรค คือการพักปลา ไม่ใช่การรักษาปลาป่วย
่การกักโรคปลา คือการพักปลาในบ่อพัก บ่อยาง บ่อไฟเบอร์หรืออื่นๆ ขนาดพอเหมาะไม่เล็กมาก เพื่อไม่ให้ปลาเครียด น้ำลึกไม่ควรน้อยกว่า 40 cm.
เพื่อไม่ให้อุณภูมิของน้ำแกว่งเกินไป หรืือให้มีน้ำประมาณ 1 ตันขึ้นไปจะดีมากๆ (น้ำครึ่งบ่อยาง ขนาด 2 เมตร) การกักโรคทำกับปลาทุกขนาด
และทุกครั้งที่มีการเคลื่ิอนย้ายปลา ซื้อปลาใหม่ ส่งปลาประกวด ย้ายบ้าน เพื่อนบ้านให้ปลาฟรี อื่นๆ


การกักโรคแบบสไตล์ ไทยคาร์ฟ
อุปกรณ์การพักปลาทำเหมือนเลี้ยงปลาตามปกติ เพียงแค่เลี้ยงชั่วคราวเท่านั้นเอง
1 น้ำหากใช้น้ำประปาต้องเตรียมน้ำล่วงหน้า 1-2 วันเพื่อให้คลอรีนระเหย 2. อ๊อกซิเจน 3. ถังกรองกายภาพ

วันแรกใส่เกลือ 3 กก. ต่อน้ำ 1ตันเพื่อลดความเครียดปลา อาจจะใส่ยาเหลืองหรือยาแอนตี้แบททีเรียที่มีขายตามท้องตลาดร่วมด้วย
วันที่สอง ถ่ายน้ำ 20-50 % ช่วงนี้งดอาหารโดยเด็ดขาด วันที่สาม ถ่ายน้ำตามปกติ 20% เฝ้าสังเกตุอาการปลาเรื่อยๆวันสองวันแรกปลาอาจ
จะมีนอนก้นบ่ออย่าพึ่งตกใจ ปล่อยให้ปลาพักดูอาการต่อ หากไม่มีอะไรประมาณ 3-4 วันปลาจะเป็นปกติรักษาคุณภาพน้ำให้ดีอย่าให้น้ำเน่าโดยเด็ดขาด
เปิดอ๊อกซิเจนจากหัวทรายแรงๆสามารถลดการตื่นกลัวของปลาในบ่อกักได้ การลงปลาควรแช่ถุงปลาใหม่ในบ่อพัก 15-20 นาที ก่อนปล่อยลงบ่อพักเพื่อปรับอุณภูมิ


เมื่อปลาในบ่อกักปกติดี อยู่ครบตามวันที่เรากำหนด และใส่ยากำจัดปรสิตแล้ว ก็มาถึงการนำปลาลงบ่อ
ก่อนปล่อยปลาใหม่ลงรวมกับปลาเก่าในบ่อ อาจนำน้ำในบ่อมาเลี้ยงปลาในบ่อพักซัก 1-2 วันก่อน เพื่อให้ปลาชินกับค่าน้ำต่างๆ

หากพบว่าเมื่อเราปล่อยปลาไปแล้ว วันต่อมาปลาในบ่อว่ายหัวทิ่มๆ อย่าพึ่งตกใจดูอาการปลาต่อ1-2 วัน สังเกตถ้าปลาตัวไม่แดง
ไม่มีอาการเปื่อยตามตัวตามครีบ เส้นเลือดไม่ขึ้นตามตัวคือปกติ งดอาหาร 1-2 วัน อาการหัวทิ่มจะหายตามปกติ



ในกรณีที่เปิดบ่อใหม่ไม่จำเป็นต้องกักโรคปลาก็ได้หากปลาที่เราจกมาแข็งแรงดี
แต่ถ้ากักในบ่อพักก่อนลงบ่อจะดีกว่า เพราะถ้าปลาป่วยเราสามารถจัดการกับปลาได้ง่ายกว่าอยู่ในบ่อ